วันอังคารที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2554

ภาวะผู้นำแบบแลกเปลี่ยน



       นายมติ  ไตรยพันธ์ และนายเทพวิมล นามสว่าง นักศึกษาปริญญาโท  มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี  สาขาบริหารการศึกษา  ซึ่งเป็นตัวแทนกลุ่มนำเสนองาน ภาวะผู้นำแบบแลกเปลี่ยน
     (Transactional  leadership) 
เมื่อวันที่  9  เมษายน  2554  ณ ศูนย์ท่าตูมประชาเสริมวิทย์

วันอาทิตย์ที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2554

ภาวะผู้นำแบบแลกเปลี่ยน

ภาวะผู้นำแบบแลกเปลี่ยน
(Transactional leadership)
ภาวะผู้นำแบบแลกเปลี่ยน คือ การใช้กระบวนการแลกเปลี่ยนระหว่างผู้นำกับผู้ตาม โดยที่ผู้นำยอมรับความต้องการของผู้ตามด้วยการให้วัตถุสิ่งของมีค่าตามที่ต้องการ แต่มีเงื่อนไขแลกเปลี่ยนให้ผู้ตามต้องทำงานบรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดหรือปฏิบัติหน้าที่ได้สำเร็จตามข้อตกลง ผู้ตามก็จะได้รางวัลตอบแทนเป็นการแลกเปลี่ยน ขณะที่ผู้นำก็ได้ประโยชน์จากผลงานที่สำเร็จนั้น ผู้นำแบบแลกเปลี่ยนจึงเน้นที่ทำให้การดำเนินการขององค์การในปัจจุบันเป็นไปอย่างราบรื่นและมีประสิทธิภาพ (efficiency) บังเกิดผลดี (excel) (เบอร์น Bum, 1978)
ลักษณะของผู้นำแบบแลกเปลี่ยนจะสังเกตเห็นได้ดังนี้ (Bass and Avolio, 1990 : 10)
1. รู้ว่าผู้ตามต้องการอะไรจากการทำงาน และพยายามให้ผู้ตามได้รับสิ่งที่ต้องการ ตราบเท่าที่เขายังทำงานได้ผล
2. แลกเปลี่ยนรางวัลและสัญญาว่าจะให้รางวัลถ้ามีความมานะพยายามในการทำงาน
3. ตอบสนองต่อความต้องการและความปรารถนาของผู้ตามตราบเท่าที่ผู้ตามยังคงทำงานได้สำเร็จ
องค์ประกอบที่สำคัญ
1. การให้รางวัลตามสถานการณ์ (Contingent Reward : CR) เกี่ยวข้องกับปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้นำและผู้ตามซึ่งเน้นการแลกเปลี่ยนนั่นคือผู้นำให้รางวัลที่เหมาะสม เมื่อผู้ตามปฏิบัติงานตาม ข้อตกลงหรือได้ใช้ความพยายามสมควร
ผู้นำแบบแลกเปลี่ยน (Transactional leadership) ที่ทำให้มีอิทธิพลต่อผู้ตาม ได้แก่
2. การบริหารแบบวางเฉย (Management-by-Exception) เป็นการบริหารงานที่ปล่อยให้เป็นไปตามสภาพเดิม (status quo) ผู้นำไม่พยายามเข้าไปยุ่งเกี่ยว จะเข้าไปแทรกก็ต่อเมื่อมีอะไรเกิดผิดพลาดขึ้นหรือการทำงานต่ำกว่ามาตรฐาน การเสริมแรงมักจะเป็นทางลบ คือตำหนิ ให้ข้อมูลย้อนกลับทางลบ
บริบทการเลือกใช้ภาวะผู้นำแบบแลกเปลี่ยน
คอตเตอร์ (Kotter, 1990) มีความเห็นว่าภาวะผู้นำที่ดีมีความสำคัญต่อความสำเร็จขององค์การ ต้องรู้จักเลือกใช้ภาวะผู้นำแบบแลกเปลี่ยน จึงทำให้ภาวะผู้นำบริหารงานองค์การสำเร็จประกอบด้วยตัวแปร 2 ประการ ได้แก่
1. ระดับความสลับซับซ้อนขององค์การ (complexity of organization)
2. ระดับความจำเป็นที่ต้องการเปลี่ยนแปลง (amount of change needed)

ที่มา      http://suthep.cru.in.th/leader20.doc

วันอังคารที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2554

กราบขอบพระคุณอย่างสูง


กราบขอบพระคุณอาจารย์ ดร.สมจิต  สงสาร อาจารย์ผู้สอน
และขอขอบพระคุณ คุณบุษยา  สระแก้ว คุณเสาวลักษณ์  จันทร์แดง  เพื่อนนักศึกษาปริญญาโท รุ่น3ที่กรุณาแบ่งปันความรู้ ข้อมูล และรูปภาพให้

เพลง "ศรัทธา"