วันอังคารที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2554

ภาวะผู้นำแบบแลกเปลี่ยน



       นายมติ  ไตรยพันธ์ และนายเทพวิมล นามสว่าง นักศึกษาปริญญาโท  มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี  สาขาบริหารการศึกษา  ซึ่งเป็นตัวแทนกลุ่มนำเสนองาน ภาวะผู้นำแบบแลกเปลี่ยน
     (Transactional  leadership) 
เมื่อวันที่  9  เมษายน  2554  ณ ศูนย์ท่าตูมประชาเสริมวิทย์

วันอาทิตย์ที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2554

ภาวะผู้นำแบบแลกเปลี่ยน

ภาวะผู้นำแบบแลกเปลี่ยน
(Transactional leadership)
ภาวะผู้นำแบบแลกเปลี่ยน คือ การใช้กระบวนการแลกเปลี่ยนระหว่างผู้นำกับผู้ตาม โดยที่ผู้นำยอมรับความต้องการของผู้ตามด้วยการให้วัตถุสิ่งของมีค่าตามที่ต้องการ แต่มีเงื่อนไขแลกเปลี่ยนให้ผู้ตามต้องทำงานบรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดหรือปฏิบัติหน้าที่ได้สำเร็จตามข้อตกลง ผู้ตามก็จะได้รางวัลตอบแทนเป็นการแลกเปลี่ยน ขณะที่ผู้นำก็ได้ประโยชน์จากผลงานที่สำเร็จนั้น ผู้นำแบบแลกเปลี่ยนจึงเน้นที่ทำให้การดำเนินการขององค์การในปัจจุบันเป็นไปอย่างราบรื่นและมีประสิทธิภาพ (efficiency) บังเกิดผลดี (excel) (เบอร์น Bum, 1978)
ลักษณะของผู้นำแบบแลกเปลี่ยนจะสังเกตเห็นได้ดังนี้ (Bass and Avolio, 1990 : 10)
1. รู้ว่าผู้ตามต้องการอะไรจากการทำงาน และพยายามให้ผู้ตามได้รับสิ่งที่ต้องการ ตราบเท่าที่เขายังทำงานได้ผล
2. แลกเปลี่ยนรางวัลและสัญญาว่าจะให้รางวัลถ้ามีความมานะพยายามในการทำงาน
3. ตอบสนองต่อความต้องการและความปรารถนาของผู้ตามตราบเท่าที่ผู้ตามยังคงทำงานได้สำเร็จ
องค์ประกอบที่สำคัญ
1. การให้รางวัลตามสถานการณ์ (Contingent Reward : CR) เกี่ยวข้องกับปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้นำและผู้ตามซึ่งเน้นการแลกเปลี่ยนนั่นคือผู้นำให้รางวัลที่เหมาะสม เมื่อผู้ตามปฏิบัติงานตาม ข้อตกลงหรือได้ใช้ความพยายามสมควร
ผู้นำแบบแลกเปลี่ยน (Transactional leadership) ที่ทำให้มีอิทธิพลต่อผู้ตาม ได้แก่
2. การบริหารแบบวางเฉย (Management-by-Exception) เป็นการบริหารงานที่ปล่อยให้เป็นไปตามสภาพเดิม (status quo) ผู้นำไม่พยายามเข้าไปยุ่งเกี่ยว จะเข้าไปแทรกก็ต่อเมื่อมีอะไรเกิดผิดพลาดขึ้นหรือการทำงานต่ำกว่ามาตรฐาน การเสริมแรงมักจะเป็นทางลบ คือตำหนิ ให้ข้อมูลย้อนกลับทางลบ
บริบทการเลือกใช้ภาวะผู้นำแบบแลกเปลี่ยน
คอตเตอร์ (Kotter, 1990) มีความเห็นว่าภาวะผู้นำที่ดีมีความสำคัญต่อความสำเร็จขององค์การ ต้องรู้จักเลือกใช้ภาวะผู้นำแบบแลกเปลี่ยน จึงทำให้ภาวะผู้นำบริหารงานองค์การสำเร็จประกอบด้วยตัวแปร 2 ประการ ได้แก่
1. ระดับความสลับซับซ้อนขององค์การ (complexity of organization)
2. ระดับความจำเป็นที่ต้องการเปลี่ยนแปลง (amount of change needed)

ที่มา      http://suthep.cru.in.th/leader20.doc

วันอังคารที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2554

กราบขอบพระคุณอย่างสูง


กราบขอบพระคุณอาจารย์ ดร.สมจิต  สงสาร อาจารย์ผู้สอน
และขอขอบพระคุณ คุณบุษยา  สระแก้ว คุณเสาวลักษณ์  จันทร์แดง  เพื่อนนักศึกษาปริญญาโท รุ่น3ที่กรุณาแบ่งปันความรู้ ข้อมูล และรูปภาพให้

เพลง "ศรัทธา"

การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน

 การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน
1. ความสำคัญของการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน เป็นการกระจายอำนาจไปยังโรงเรียนโดยให้มีชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการตัดสินใจในการบริหารในด้านการบริหารจัดการทรัพยากรด้านวัตถุและบุคคลได้อย่างเกิดประโยชน์สูงสุด
2. ลักษณะการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน
ลักษณะการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานนั้น เน้นที่การบริหารจัดการ และเน้นการพัฒนานักเรียนและครูรวมทั้งโรงเรียน และรวมทั้งระบบบนพื้นฐานข้อเท็จจริงโรงเรียน ดังนั้นบทบาทของโรงเรียนจึงเป็นแบบริเริ่มพัฒนา ใช้กระบวนการการแก้ปัญหา สำรวจความเป็นไปได้ อำนวยความสะดวกสนับสนุนให้ครูจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพ และให้นักเรียนได้เรียนรู้อย่างมีประสิทธิผลซึ่งลักษณะการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานนั้นมีรายละเอียดพอสรุปดังต่อไปนี้
2.1 หลักการกระจายอำนาจ ซึ่งเป็นการกระจายอำนาจการศึกษาจากกระทรวงและส่วนกลางไปยังสถานศึกษาให้มากที่สุดโดยมีความเชื่อว่าโรงเรียนเป็นหน่วยสำคัญในการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาการศึกษาของเด็ก
2.2 หลักการมีส่วนร่วม เปิดโอกาสให้ผู้เกี่ยวข้องและมีส่วนได้ส่วนเสีย ในการมี
ส่วนร่วมในการบริหารตัดสินใจ และร่วมจัดการศึกษา ทั้งครู ผู้ปกครอง ตัวแทนชุมชนตัวแทนศิษย์เก่า และตัวแทนนักเรียน การที่บุคคลมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาจะเกิดความรู้สึกเป็นเจ้าของและจะรับผิดชอบในการศึกษามากขึ้น
2.3 หลักการคืนอำนาจการศึกษาให้ประชาชน ในอดีตการจัดการศึกษาจะทำกันหลากหลายบางแห่งก็ให้วัดหรือองค์กรในท้องถิ่นเป็นผู้ดำเนินการ ต่อมามีการรวบรวมการจัดการศึกษาไปให้กระทรวงศึกษาธิการ เพื่อให้เกิดเอกภาพและมาตรฐานทางการศึกษา แต่เมื่อประชากรเพิ่มขึ้น ความเจริญต่างๆ รุดหน้าไปอย่างรวดเร็ว การจัดการศึกษาโดยส่วนกลางเริ่มมีข้อจำกัดเกิดความล่าช้าและไม่ตอบสนองความต้องการของผู้เรียนและชุมชนอย่างแท้จริง จึงต้องมีการคืนอำนาจให้ท้องถิ่นและประชาชนได้จัดการศึกษาเองอีกครั้ง
2.4 หลักการบริการตนเอง ในระบบการศึกษาทั่วไป มักจะกำหนดให้โรงเรียนเป็นหน่วยปฏิบัติตามนโยบายของส่วนกลาง โรงเรียนไม่มีอำนาจอย่างแท้จริง สำหรับการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานนั้นไม่ได้ปฏิเสธเรื่องการทำงานให้บรรลุเป้าหมาย และนโยบายของส่วนรวม แต่มีความเชื่อว่าวิธีการทำงานให้บรรลุเป้าหมายนั้นทำได้หลายวิธี การที่ส่วนกลางทำหน้าที่เพียงกำหนดนโยบายและเป้าหมาย และปล่อยให้โรงเรียนมีระบบการบริหารด้วยตนเองโดยให้โรงเรียนมีอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบในการดำเนินงาน ซึ่งอาจดำเนินการได้หลากหลาย ด้วยวิธีการที่แตกต่างกัน แล้วแต่ความพร้อมและสถานการณ์ของโรงเรียน ผลที่ได้รับน่าจะมีประสิทธิภาพสูงกว่าเดิม ที่ทุกอย่างถูกกำหนดมาจากส่วนกลาง ไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม
2.5 หลักการตรวจสอบและถ่วงดุล ส่วนกลางมีหน้าที่กำหนดนโยบายและควบคุมมาตรฐานมีองค์กรอิสระทำหน้าที่ตรวจสอบการบริหารและการจัดการศึกษาเพื่อให้มีคุณภาพและมาตรฐานเป็นไปตามกำหนด และเป็นไปตามนโยบายของชาติสรุปว่า ลักษณะการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน หมายถึง การนำหลักการบริหารโรงเรียนมาใช้ภายในโรงเรียน โดยคำนึงถึงประสิทธิภาพ ในการจัดการของโรงเรียนเพื่อให้โรงเรียนได้รับความเชื่อมั่นว่า สามารถบริหารงานภายในโรงเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผลมากกว่ารูปแบบการจัดการศึกษาในอดีตที่ผ่านมา
3. รูปแบบการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน
รูปแบบการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานว่ามี 4 รูปแบบได้แก่
3.1 รูปแบบที่มีผู้บริหารโรงเรียนเป็นหลัก ผู้บริหารเป็นประธานคณะกรรมการ
ส่วนกรรมการอื่นๆ ได้มาจากการเลือกตั้งหรือการคัดเลือกจากกลุ่มผู้ปกครอง ครู และชุมชน
คณะกรรมการมีบทบาทให้คำปรึกษา แต่อำนาจตัดสินใจยังคงอยู่ที่ผู้บริหารโรงเรียน
3.2 รูปแบบที่มีครูเป็นหลักเกิดจากแนวคิดที่ว่า ครูเป็นผู้ใกล้ชิดนักเรียนมากที่สุดย่อมรู้ปัญหาได้ดีกว่าและสามารถแก้ปัญหาได้ตรงจุด ตัวแทนคณะครูจะมีส่วนร่วมมากที่สุดในคณะกรรมการโรงเรียน ผู้บริหารยังคงเป็นประธานคณะกรรมการโรงเรียน บทบาทของคณะกรรมการโรงเรียนและเลขานุการ บทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการโรงเรียนเป็นคณะกรรมการบริหาร
3.3 รูปแบบที่มีชุมชนมีบทบาทหลัก แนวคิดสำคัญคือ การจัดการศึกษาควรตอบสนอง
ความต้องการและค่านิยมของผู้ปกครองและชุมชนมากที่สุด ตัวแทนของผู้ปกครองและชุมชนจึงมีส่วนร่วมในคณะกรรมการโรงเรียนมากที่สุด ตัวแทนผู้ปกครองและชุมชนเป็นประธานคณะกรรมการโดยมีผู้บริหารโรงเรียนเป็นกรรมการและเลขานุการ บทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการโรงเรียนเป็นคณะกรรมการบริหาร
3.4 รูปแบบที่ครูและชุมชนมีบทบาทหลัก แนวคิดเรื่องนี้เชื่อว่า ทั้งครู และผู้ปกครองต่าง
มีความสำคัญในการจัดการศึกษาให้แก่เด็ก เนื่องจากทั้งสองกลุ่มต่างอยู่ใกล้ชิดนักเรียนมากที่สุด รับรู้ปัญหาและความต้องการได้ดีที่สุดสัดส่วนของครูและผู้ปกครอง (ชุมชน)ในคณะกรรมการโรงเรียนจะมีเท่าๆ กัน แต่มากกว่าตัวแทนกลุ่มอื่น ผู้บริหารโรงเรียนเป็นประธานบทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการโรงเรียนเป็นคณะกรรมการบริหารมีการประชาสัมพันธ์ที่ดี มีระบบการสื่อสารที่มีคุณภาพ เพื่อให้ทุกฝ่ายได้รับรู้ข้อมูลสารสนเทศตรงกัน

สรุปได้ว่า เป็นรูปแบบการบริหารโรงเรียนโดยคณะผู้ที่รับผิดชอบในโรงเรียนและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องต่างก็มีส่วนร่วมในการดำเนินงาน เพื่อให้สถานศึกษาบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ และทำให้การดำเนินมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล อันก่อให้เกิดคุณภาพกับนักเรียนเป็นมากที่สุด นอกจากนี้ในการบริหารโรงเรียนยังเป็นการบริหารที่สถานศึกษาสามารถกำหนดความต้องการของสถานศึกษาขึ้นเอง โดยกรรมการสถานศึกษา ซึ่งประกอบด้วยกรรมการอำนวยการ ผู้ตรวจการบริหารสถานศึกษา ครู ผู้ปกครอง และนักเรียน โดยมีอิสระและความรับผิดชอบในการใช้ทรัพยากรในการแก้ปัญหาต่างมากขึ้น และทำให้กิจกรรมการศึกษาบังเกิดการพัฒนาสถานศึกษาในระยะยาว

มติ  ไตรยพันธ์  เขียน  
ที่มา :  http://gotoknow.org/blog/kroo-pook/326313

กิจกรรมของนักศึกษาปริญญาโท สาขาบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี รุ่น3 ศูนย์ท่าตูมประชาเสริมวิทย์

   นักศึกษาปริญญาโท  สาขาบริหารการศึกษา  มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี  รุ่น  3 ศูนย์ท่าตูมประชาเสริมวิทย์  เข้ารับการปฐมนิเทศที่  มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี  กรุงเทพมหานคร  เมื่อวันที่  30 มกราคม  2554



นักศึกษาปริญญาโท  สาขาบริหารการศึกษา  ถ่ายรูปเพื่อเป็นที่ระลึก เมื่อเรียนจบวิชา นโยบายและการวางแผนพัฒนาการศึกษาท้องถิ่น