วันจันทร์ที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2554
วันศุกร์ที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2554
วันอังคารที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2554
กราบขอบพระคุณอย่างสูง
กราบขอบพระคุณอาจารย์ ดร.สมจิต สงสาร อาจารย์ผู้สอน
และขอขอบพระคุณ คุณบุษยา สระแก้ว คุณเสาวลักษณ์ จันทร์แดง เพื่อนนักศึกษาปริญญาโท รุ่น3ที่กรุณาแบ่งปันความรู้ ข้อมูล และรูปภาพให้
การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน
1. ความสำคัญของการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน เป็นการกระจายอำนาจไปยังโรงเรียนโดยให้มีชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการตัดสินใจในการบริหารในด้านการบริหารจัดการทรัพยากรด้านวัตถุและบุคคลได้อย่างเกิดประโยชน์สูงสุด
2. ลักษณะการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน
ลักษณะการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานนั้น เน้นที่การบริหารจัดการ และเน้นการพัฒนานักเรียนและครูรวมทั้งโรงเรียน และรวมทั้งระบบบนพื้นฐานข้อเท็จจริงโรงเรียน ดังนั้นบทบาทของโรงเรียนจึงเป็นแบบริเริ่มพัฒนา ใช้กระบวนการการแก้ปัญหา สำรวจความเป็นไปได้ อำนวยความสะดวกสนับสนุนให้ครูจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพ และให้นักเรียนได้เรียนรู้อย่างมีประสิทธิผลซึ่งลักษณะการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานนั้นมีรายละเอียดพอสรุปดังต่อไปนี้
2.1 หลักการกระจายอำนาจ ซึ่งเป็นการกระจายอำนาจการศึกษาจากกระทรวงและส่วนกลางไปยังสถานศึกษาให้มากที่สุดโดยมีความเชื่อว่าโรงเรียนเป็นหน่วยสำคัญในการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาการศึกษาของเด็ก
2.2 หลักการมีส่วนร่วม เปิดโอกาสให้ผู้เกี่ยวข้องและมีส่วนได้ส่วนเสีย ในการมี
ส่วนร่วมในการบริหารตัดสินใจ และร่วมจัดการศึกษา ทั้งครู ผู้ปกครอง ตัวแทนชุมชนตัวแทนศิษย์เก่า และตัวแทนนักเรียน การที่บุคคลมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาจะเกิดความรู้สึกเป็นเจ้าของและจะรับผิดชอบในการศึกษามากขึ้น
2.3 หลักการคืนอำนาจการศึกษาให้ประชาชน ในอดีตการจัดการศึกษาจะทำกันหลากหลายบางแห่งก็ให้วัดหรือองค์กรในท้องถิ่นเป็นผู้ดำเนินการ ต่อมามีการรวบรวมการจัดการศึกษาไปให้กระทรวงศึกษาธิการ เพื่อให้เกิดเอกภาพและมาตรฐานทางการศึกษา แต่เมื่อประชากรเพิ่มขึ้น ความเจริญต่างๆ รุดหน้าไปอย่างรวดเร็ว การจัดการศึกษาโดยส่วนกลางเริ่มมีข้อจำกัดเกิดความล่าช้าและไม่ตอบสนองความต้องการของผู้เรียนและชุมชนอย่างแท้จริง จึงต้องมีการคืนอำนาจให้ท้องถิ่นและประชาชนได้จัดการศึกษาเองอีกครั้ง
2.4 หลักการบริการตนเอง ในระบบการศึกษาทั่วไป มักจะกำหนดให้โรงเรียนเป็นหน่วยปฏิบัติตามนโยบายของส่วนกลาง โรงเรียนไม่มีอำนาจอย่างแท้จริง สำหรับการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานนั้นไม่ได้ปฏิเสธเรื่องการทำงานให้บรรลุเป้าหมาย และนโยบายของส่วนรวม แต่มีความเชื่อว่าวิธีการทำงานให้บรรลุเป้าหมายนั้นทำได้หลายวิธี การที่ส่วนกลางทำหน้าที่เพียงกำหนดนโยบายและเป้าหมาย และปล่อยให้โรงเรียนมีระบบการบริหารด้วยตนเองโดยให้โรงเรียนมีอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบในการดำเนินงาน ซึ่งอาจดำเนินการได้หลากหลาย ด้วยวิธีการที่แตกต่างกัน แล้วแต่ความพร้อมและสถานการณ์ของโรงเรียน ผลที่ได้รับน่าจะมีประสิทธิภาพสูงกว่าเดิม ที่ทุกอย่างถูกกำหนดมาจากส่วนกลาง ไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม
2.5 หลักการตรวจสอบและถ่วงดุล ส่วนกลางมีหน้าที่กำหนดนโยบายและควบคุมมาตรฐานมีองค์กรอิสระทำหน้าที่ตรวจสอบการบริหารและการจัดการศึกษาเพื่อให้มีคุณภาพและมาตรฐานเป็นไปตามกำหนด และเป็นไปตามนโยบายของชาติสรุปว่า ลักษณะการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน หมายถึง การนำหลักการบริหารโรงเรียนมาใช้ภายในโรงเรียน โดยคำนึงถึงประสิทธิภาพ ในการจัดการของโรงเรียนเพื่อให้โรงเรียนได้รับความเชื่อมั่นว่า สามารถบริหารงานภายในโรงเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผลมากกว่ารูปแบบการจัดการศึกษาในอดีตที่ผ่านมา
3. รูปแบบการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน
รูปแบบการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานว่ามี 4 รูปแบบได้แก่
3.1 รูปแบบที่มีผู้บริหารโรงเรียนเป็นหลัก ผู้บริหารเป็นประธานคณะกรรมการ
ส่วนกรรมการอื่นๆ ได้มาจากการเลือกตั้งหรือการคัดเลือกจากกลุ่มผู้ปกครอง ครู และชุมชน
คณะกรรมการมีบทบาทให้คำปรึกษา แต่อำนาจตัดสินใจยังคงอยู่ที่ผู้บริหารโรงเรียน
3.2 รูปแบบที่มีครูเป็นหลักเกิดจากแนวคิดที่ว่า ครูเป็นผู้ใกล้ชิดนักเรียนมากที่สุดย่อมรู้ปัญหาได้ดีกว่าและสามารถแก้ปัญหาได้ตรงจุด ตัวแทนคณะครูจะมีส่วนร่วมมากที่สุดในคณะกรรมการโรงเรียน ผู้บริหารยังคงเป็นประธานคณะกรรมการโรงเรียน บทบาทของคณะกรรมการโรงเรียนและเลขานุการ บทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการโรงเรียนเป็นคณะกรรมการบริหาร
3.3 รูปแบบที่มีชุมชนมีบทบาทหลัก แนวคิดสำคัญคือ การจัดการศึกษาควรตอบสนอง
ความต้องการและค่านิยมของผู้ปกครองและชุมชนมากที่สุด ตัวแทนของผู้ปกครองและชุมชนจึงมีส่วนร่วมในคณะกรรมการโรงเรียนมากที่สุด ตัวแทนผู้ปกครองและชุมชนเป็นประธานคณะกรรมการโดยมีผู้บริหารโรงเรียนเป็นกรรมการและเลขานุการ บทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการโรงเรียนเป็นคณะกรรมการบริหาร
3.4 รูปแบบที่ครูและชุมชนมีบทบาทหลัก แนวคิดเรื่องนี้เชื่อว่า ทั้งครู และผู้ปกครองต่าง
มีความสำคัญในการจัดการศึกษาให้แก่เด็ก เนื่องจากทั้งสองกลุ่มต่างอยู่ใกล้ชิดนักเรียนมากที่สุด รับรู้ปัญหาและความต้องการได้ดีที่สุดสัดส่วนของครูและผู้ปกครอง (ชุมชน)ในคณะกรรมการโรงเรียนจะมีเท่าๆ กัน แต่มากกว่าตัวแทนกลุ่มอื่น ผู้บริหารโรงเรียนเป็นประธานบทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการโรงเรียนเป็นคณะกรรมการบริหารมีการประชาสัมพันธ์ที่ดี มีระบบการสื่อสารที่มีคุณภาพ เพื่อให้ทุกฝ่ายได้รับรู้ข้อมูลสารสนเทศตรงกัน
สรุปได้ว่า เป็นรูปแบบการบริหารโรงเรียนโดยคณะผู้ที่รับผิดชอบในโรงเรียนและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องต่างก็มีส่วนร่วมในการดำเนินงาน เพื่อให้สถานศึกษาบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ และทำให้การดำเนินมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล อันก่อให้เกิดคุณภาพกับนักเรียนเป็นมากที่สุด นอกจากนี้ในการบริหารโรงเรียนยังเป็นการบริหารที่สถานศึกษาสามารถกำหนดความต้องการของสถานศึกษาขึ้นเอง โดยกรรมการสถานศึกษา ซึ่งประกอบด้วยกรรมการอำนวยการ ผู้ตรวจการบริหารสถานศึกษา ครู ผู้ปกครอง และนักเรียน โดยมีอิสระและความรับผิดชอบในการใช้ทรัพยากรในการแก้ปัญหาต่างมากขึ้น และทำให้กิจกรรมการศึกษาบังเกิดการพัฒนาสถานศึกษาในระยะยาว
กิจกรรมของนักศึกษาปริญญาโท สาขาบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี รุ่น3 ศูนย์ท่าตูมประชาเสริมวิทย์
นักศึกษาปริญญาโท สาขาบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี รุ่น 3 ศูนย์ท่าตูมประชาเสริมวิทย์ เข้ารับการปฐมนิเทศที่ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 30 มกราคม 2554
นักศึกษาปริญญาโท สาขาบริหารการศึกษา ถ่ายรูปเพื่อเป็นที่ระลึก เมื่อเรียนจบวิชา นโยบายและการวางแผนพัฒนาการศึกษาท้องถิ่น
นักศึกษาปริญญาโท สาขาบริหารการศึกษา ถ่ายรูปเพื่อเป็นที่ระลึก เมื่อเรียนจบวิชา นโยบายและการวางแผนพัฒนาการศึกษาท้องถิ่น
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)